ข้อมูลพันธุ์ไม้/การนำไปใช้ประโยชน์

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดพันธุ์ไม้

ตะแบก

กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา (ภาคกลาง, นครราชสีมา), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)

Lagerstroemia floribunda Jack

LYTHRACEAE

รายละเอียด

ไม้ยืนต้นผลัด สูง 15 – 30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็นหลุมตื้น ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ดอก: สีม่วงอมชมพู ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งออกดอกช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ผล: ผลแก่แตกเป็น 6 ซีก เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งทางด้านบน 1 ปีก

ถิ่นที่อยู่

พบขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณ พื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้มีขึ้นอยู่มากในป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วมและตามท้องนาทั่ว ๆไป

การนำไปใช้ประโยชน์

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เรือ แพ เกวียน แจว เครื่องมือกสิกรรม ไม้ตะแบกชนิดลายใช้ทำเครื่องเรือน ด้ามมีด ด้ามหอก กรอบรูป พานท้ายปืน สันแปรง คิวบิลเลียด ด้ามปากกา ด้ามร่ม ไม้บุผนังที่สวยงาม