ข้อมูลพันธุ์ไม้/การนำไปใช้ประโยชน์

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดพันธุ์ไม้

พิกุล

กุล (ใต้) แก้ว (กลาง, เหนือ) ซางดง (ลำปาง) พิกุลเขา (นครศรีธรรมราช) พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี) พิกุลป่า (กลาง,สตูล)

Mimusops elengi L.

SAPOTACEAE

รายละเอียด

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกบางๆตามยาว ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่นกว้างเป็นทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกจักเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผล: รูปไข่หรือกลมรี ผลแก่สีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ขนาดผลกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดียว

ถิ่นที่อยู่

พบในประเทศที่มีอากาศร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซีย ในประเทศไทยพบตามป่าทางภาคใต้ และภาคตะวันออก

การนำไปใช้ประโยชน์

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ขุดเรือทำสะพาน ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี เป็นต้น ในต้นที่มีอายุมากบางต้นพบว่าเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า “ขอนดอก” เชื่อกันว่าเกิดจากเชื้อราบางตัว นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล