กิจกรรมโครงการศูนย์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.)



หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้จัดการเรียนการสอนในสาขาอัตลักษณ์ที่มีรากฐานจากความเชี่ยวชาญเดิม ได้แก่ อาหาร และการบริการ รวมทั้งการศึกษาปฐมวัย ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกับโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ อีกทั้งเครือข่ายพันธมิตรได้แก่ หน่วยงานราชการ หน่วยงานการศึกษาต่างๆ ได้ให้การสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด อีกทั้งแผนกลยุทธ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี และแผนกลยุทธ์ของการพัฒนาประเทศ ไทยแลนด์ ๔.๐ ได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมที่มีรากฐานมาจากงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดังนั้นการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ร่วมกับสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ในกิจกรรมที่ ๒ : สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร, กิจกรรมที่ ๔ : อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร และ กิจกรรมที่ ๘ : กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินโครงการภายใต้ฐานทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และมีกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ คือ กรอบการเรียนรู้ กรอบการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก เพื่อศึกษารวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสร้างนวัตกรรมในรูปแบบของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative economy) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประเทศไปทั้งระบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมในด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรพันธุ์พืชและนำมาใช้ประโยชน์
2. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและสปาสำหรับเด็กจากข้าวไรส์เบอร์รี่และมะม่วง
3. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและสปาสู่กลุ่มเป้าหมาย
4. เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรและทีมงานการทำงานวิจัย และเพื่อสนองพระราชดำริ

ตัวชี้วัดการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

1. จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ๓ โรงเรียน
2. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า ๔ หลักสูตร
3. เกิดผลิตภัณฑ์จากการพัฒนางานวิจัยไม่น้อยกว่า ๖ ผลิตภัณฑ์
4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับสูง